วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แข่งเรือเฮือซ่วง..แห่กฐินทางน้ำ...สืบสานสู่รุ่นลูก-หลาน

ปีนี้จังหวัดสุโขทัย เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นหลัง เสริมงานประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร โดยเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโข ทัย ได้กำหนดจัดแห่กฐินทางน้ำขึ้น ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2552 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ สุดเสมอใจ นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือกันว่า การทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีฐานะดีพอที่จะทอดได้ ต้องทอดด้วยกันทุกคน ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐิน

นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวอีกว่า ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดเสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่ คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรมตามมีตามเกิด มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก

“ดังนั้นทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดหมายว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและคน หาดเสี้ยวต่อไป”

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวว่า สุโขทัย เป็นเมืองเก่าแก่ เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมประ เพณีที่หลากหลาย และน่าค้นคว้า ซึ่งหากใครได้มาชมงานกฐินทางน้ำ และแข่งเรือของชาวหาดเสี้ยวแล้ว เชื่อว่านอกจากจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีของที่นี่อีกด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


การจำแนกสารรอบตัว

การจำแนกสารรอบตัว
1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว
1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม
2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกันสารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี
ที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น
ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=imageจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมีตรี
เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น