วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552


พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2552 - 25 ตุลาคม 2552
การคาดหมาย ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนกลางและมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ และในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทย ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นกับอุณหภูมิลดลง ส่วนภาคอื่นๆยังคงมีฝนกระจาย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 25 จะมีความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่เสริมเข้ามาอีกระลอกหนึ่ง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงได้อีก

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ลูปิด” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงวันที่ 21-22 ต.ค. และลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในระยะต่อไป

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. ทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็น และมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค. มีฝนกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางด้านตะวันตกของภาค และอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็น และมีหมอกบางในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจายร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย

ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และอุณหภูมิลดลง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค เกือบตลอดช่วง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร

ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


ที่มา http://www.tmd.go.th/7-day_forecast.php

แข่งเรือเฮือซ่วง..แห่กฐินทางน้ำ...สืบสานสู่รุ่นลูก-หลาน

ปีนี้จังหวัดสุโขทัย เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นหลัง เสริมงานประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร โดยเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโข ทัย ได้กำหนดจัดแห่กฐินทางน้ำขึ้น ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2552 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ สุดเสมอใจ นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือกันว่า การทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีฐานะดีพอที่จะทอดได้ ต้องทอดด้วยกันทุกคน ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐิน

นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวอีกว่า ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดเสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่ คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรมตามมีตามเกิด มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก

“ดังนั้นทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดหมายว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและคน หาดเสี้ยวต่อไป”

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวว่า สุโขทัย เป็นเมืองเก่าแก่ เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมประ เพณีที่หลากหลาย และน่าค้นคว้า ซึ่งหากใครได้มาชมงานกฐินทางน้ำ และแข่งเรือของชาวหาดเสี้ยวแล้ว เชื่อว่านอกจากจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีของที่นี่อีกด้วย.























ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
…………………………
ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือก
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น
บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552

( นายประยุทธ นาวายนต์ )
อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทน
ประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2

บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552
อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ

1 033 นายไพรัตน์ กลิ่นทับ
2 016 นายสารัตน์ พวงเงิน
3 009 นายวิโรจน์ บัวคง
4 010 นางหทัยรัตน์ เกษรจันทร์
5 022 นายสมบัติ ป้องฉิม
6 039 นายรัฐพล โพธิ์แก้ว
7 004 นางสาวศิริวรรณ ขวัญมุข
8 011 นางนภาศรี ทิมภูธรา
9 032 นายสาโรช เกตุสาคร
10 037 นางสาวชรินยา สุขย้อย
11 003 นายสุภัค พวงขจร
12 036 นางวาสนา ตาคม
13 015 นายชัชวาลย์ อ่ำเทศ
14 017 นายชาญวิทย์ วงศ์จักร
15 025 นางรัชนี เมืองชื่น
16 001 นายธรรมศาสตร์ ธรรมไชย
17 005 นายประทีป สันธิ
18 021 นายเยี่ยม ต้นกลั่น
19 034 นายประยุทธ ครุธแก้ว
20 030 ว่าที่ พ.ต.ทับทิม พาโคกทม
21 027 นายปิยะวุฒิ ล่องชูผล
22 038 นางสาวสุภาณี หัฐพฤติ
23 026 นายพนม สุขหา
24 013 นางราตรี สุวรรณประสิทธิ์
25 024 นางสาวนรินทร์ อินทะนัก
26 002 นายธีรพงษ์ เข็มคง
27 006 นายคมกริช จบศรี
28 028 นางสาวรัตนาวดี ทับเงิน
29 020 นางรุจิรัตน์ รัตนเพชร

ประกาศ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
เรื่อง ผลการคัดเลือกข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
…………………………
ตามที่ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้ประกาศรับสมัครคัดเลือก
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 10 กันยายน 2552 นั้น
บัดนี้ การดำเนินการคัดเลือกได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 8 / 2552 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 จึงได้ประกาศผล
ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียงตามลำดับจากผู้ได้คะแนนรวมสูงสุดจากมากไปหาน้อย มีกำหนด 2 ปี
นับแต่วันประกาศขึ้นบัญชี รายละเอียดตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยสถานศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวัน เวลา และสถานที่ ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2 กำหนด ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
ประกาศ ณ วันที่ 12 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2552

( นายประยุทธ นาวายนต์ )
อนุกรรมการและเลขานุการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ปฏิบัติหน้าที่แทน
ประธานอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประจำเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2

บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 2
แนบท้ายประกาศการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552
อันดับที่ เลขที่สอบ ชื่อ -สกุล หมายเหตุ


1 022 นางวาสนา สำเนียง
2 071 นายอำนวย บูรณะไทย
3 078 นายวีระศักด์ ย้อยสร้อยสุด
4 072 นายประวิท วิริยะพงษ์
5 053 นายสุวิทย์ อภิโล
6 064 นายชวลิต ทะยะ
7 067 นายอลงกรณ์ หงษ์ผ้วย
8 001 นางสาวยุพิน จงแจ่มฟ้า
9 028 นายดำรง คุ้มพาล
10 081 นายประสาน โชติมน
11 005 นายสมพร สุขอร่าม
12 025 นางกมลวรรณ ตั้งสุขสันต์
13 063 นางศิริรัตน์ แก้วทอง
14 082 นายไพบูลย์ พวงเงิน
15 026 นางชลิศา ป้องฉิม
16 014 นายพิเชฐ ขำพงศ์
17 036 นายสุรสิทธิ์ เกษประสิทธิ์
18 011 นายอนุชิต กมล
19 008 นายณฐวรรษ ยอดแก้ว
20 031 นายไพรัช เดชะศิริ
21 060 นายไพรัช อินต๊ะสงค์
22 054 นางกาบแก้ว สวยสม
23 015 นายจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์
24 062 นายเกียรติชัย สังข์จันทร์
25 046 นายธัชพล โพธิทา
26 007 นางสายสุณีย์ ไพบูลย์กสิกรรม
27 043 นางกุณฑี วงค์จันทรมณี
28 074 นางสาวทองปลาย กมล
29 077 นายศราวุธ คำแก้ว
30 068 นายสมศักดิ์ วรรณโชค
31 034 นายอานนท์ ชาญกูล
32 042 นายธวัชชัย อินต๊ะเสาร์
33 070 นายนิคม จันทร์อิ่ม
34 069 นายมนัส เจื้อยแจ้ว
35 029 นายสมยศ ทองรัตน์
36 075 นายประธาน หาญณรงค์
37 018 นายสุชาติ หลำพรม
38 006 นางอิสรีย์ ชัยวัฒน์ดำรงสุข
39 017 นายวินัย จันทร์หอม
40 021 นายบุญชู คำรักษ์
41 050 นายสุทัศน์ หลินจริญ
42 052 นางธนวรรณ มะโนรา
43 080 นายสังวาลย์ พลอยคำ
44 002 นายมานพ หลงแย้ม
45 079 นายวัลลภ เอี่ยมมะ
46 051 นายกฤษดา แจ่มทุ่ง
47 073 นายวิลาศ ส่งให้
48 041 นายนคเรศ นิลวงศ์
49 012 นางสาวปรีเปรม เค้าอ้น
50 023 นายอานนท์ อุ่นนังกาศ
51 009 นางจิตติมนต์ อัครจรัญรัตน์
52 055 นายวสันต์ บัวหลวง
53 039 นายสมโภชน์ วรรณโชค
54 066 นางสาวจินตนา ทองแจ่ม
55 065 นางปราณี จันทราราชัย
56 010 นายสำราญ จงอยู่เย็น
57 032 นายภูษิต ภูสีโสม
58 048 นายจำเนียร ตูมหอม
59 057 นายพิรุณ กาสาย
60 019 นายประเสริฐ รุ่งเรือง
61 038 นายวัฒนา แสนคำ
62 004 นายวัชรินทร์ ฤทธิ์รักษา
63 035 นายวีระ อินทรสุวรรณ
64 016 นายสมศักดิ์ แก้วนุช
65 040 นายเทียม จรวุฒิพันธ์
66 037 นายสุพจน์ กล้าวาจา
67 020 นายอุทิศ มีเต็ม
68 045 นางสาวรวิสรา แก้วเกต
69 003 นางอารยา ปานคง
70 013 นางสาววิไลลักษณ์ ปักษี
71 049 นายโกวิทย์ บริสุทธิ์
72 024 ว่าที่ร้อยตรีสมเกียรติ ขอนทอง
ที่มา http://www.sukhothai2.go.th/main/

การจำแนกสารรอบตัว

การจำแนกสารรอบตัว
1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว
1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม
2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกันสารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี
ที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น
ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=imageจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมีตรี
เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น