วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การวัดความเร็วและทิศทางของลม
ลม คือการเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรงก็หมายถึงว่ามวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็วในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและอัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "อะนีมอมิเตอร์"(anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัดหรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบและมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์
การวัดความเร็วและทิศของลม อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งเรียกว่า "ใบพัดลม" ซึ่งสามารถวัดความเร็วและทิศได้พร้อมกัน ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยมและสะดวกที่จะใช้หน่วยใด เช่น
นอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมง
กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ไมล์ (บก) ต่อชั่วโมง

นอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องบันทึกความเร็วและทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph) ซึ่งสามารถบันทึกความเร็วและทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ
[กลับหัวข้อหลัก]

เครื่องวัดทิศทางและความเร็วของลมแบบใบพัด

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
มาตราลมโบฟอร์ต
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ พลเรือเอก เซอร์ ฟรานซิสโบฟอร์ต (Admiral Sir Francis Beaufort, ค.ศ. ๑๗๗๔-๑๘๕๗, ชาวอังกฤษ) แห่งราชนาวีอังกฤษได้พัฒนามาตราส่วนสำหรับคาดคะเนความเร็วของลมไว้ใช้ในการ เดินเรือใบ เรียกว่า มาตราลมโบฟอร์ต (Beau-fort wind scale) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และแบ่งกำลังออกเป็น ๑๓ ชั้น คือ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๒ โดยมีคำบรรยายเครื่องหมายและเปรียบเทียบความเร็ว
ที่มา http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/
ถ้าเรามีความประสงค์จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงความกดของอากาศตลอดชั่วโมง ตลอดวัน หรือตลอดเดือน ก็สามารถทำได้ โดยใช้แขนปากกาต่อกับกล่องโลหะ ซึ่งถูกดูดอากาศออกเป็นบางส่วน แล้วใช้แผ่นบักทึก ความกดม้วนรอบกระบอก ซึ่งหมุนด้วยลานนาฬิกา เครื่องบันทึกความกดอากาศนี้เรียกว่า "บารอกราฟ" (barograph)
ที่มาhttp://nuaom086.blogspot.com/2009_12_01_archive.html
http://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8/

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ชื่อพายุ (I) ความหมาย ประเทศที่มาDamrey ดอมเรย ช้าง กัมพูชาHaikui ไห่คุ้ย - สาธารณรัฐประชาชนจีนKirogi ไคโรจิ ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วง และอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุไต้ฝุ่น ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีKai-tak ไคตั๊ก ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tembin เทมบิง ราศีตุล ตาชั่ง ญี่ปุ่นBolaven โบลาเวน ที่ราบสูง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanba SAN-BA ชื่อสถานที่ในมาเก๊า Place name in Macoa มาเก๊าJelawat เจอลาวัต ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียEwiniar เอวิเนียร์ ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMariksi MA-LIK-SI คำคุณศัพท์ในภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์(?)มีความหมายว่า"รวดเร็ว" Filipino adjective which means fast ฟิลิปปินส์Gaemi เกมี มด สาธารณรัฐเกาหลีPrapiroon พระพิรุณ ฃื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทยMaria มาเรีย ชื่อผู้หญิง [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทราแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSon Tinh SON-TING เทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม (God of Mountain in Vietnamese myth) เวียดนามBopha โบพา ชื่อดอกไม้ / ชื่อเด็กหญิง กัมพูชาWukong หวู่คง ชื่อวีรบุรุษในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนSonamu โซนามุ ต้นส้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีShanshan ซานซาน ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Yagi ยางิ ราศีมังกร แพะ ญี่ปุ่นLeepi LEE-PI น้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของประเทศลาว(The most beautiful waterfall in the end of Southern of Lao) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวBebinca เบบินคา ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊าRumbia รุมเบีย ต้นปาล์ม มาเลเซียSoulik ซูลิก ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป (Pohnpei) ไมโครนีเซียCimaron ซิมารอน วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์Jebi เชบี นกนางแอ่น สาธารณรัฐเกาหลีMangkhut มังคุด MUNG-KUUT ชื่อผลไม้ ไทยUtor อูตอร์ แนวพายุฝนฟ้าคะนอง [ภาษาพื้นเมืองหมู่ชาวเกาะมาร์แชลล์ (Marshall)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาTrami จ่ามี ชื่อดอกไม้ เวียดนามKong-rey กองเรย ชื่อสาวงามในตำนานเขมร ชื่อภูเขา กัมพูชาYutu ยู่ทู่ กระต่ายในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนToraji โทราจิ ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีMan-yi มานหยี่ ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Usagi อุซางิ กระต่าย ญี่ปุ่นPabuk ปาบึก (ปลาบึก) ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวWutip หวู่ติ๊บ ผีเสื้อ มาเก๊าSepat เซอปัต ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซียFitow ฟิโทว์ ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม [ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป ( Yap) ] ไมโครนีเซียDanas ดานัส ประสบการณ์และความรู้สึก ฟิลิปปินส์Nari นารี ดอกไม้ สาธารณรัฐเกาหลีWipha วิภา ชื่อผู้หญิง ไทยFrancisco ฟรานซิสโก ชื่อผู้ชาย [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาLekima เลกีมา ชื่อผลไม้ เวียดนามKrosa กรอซา ปั้นจั่น กัมพูชาHaiyan ไห่เยี่ยน ชื่อนกทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPodul โพดอล ต้นหลิว ต้นไม้ที่มักพบในตัวเมืองและชนบทของเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีLingling เหล่งเหลง ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kajiki คะจิกิ ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ ญี่ปุ่นFaxai ฟ้าใส ชื่อผู้หญิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวPEIPAH เพผ่า ชื่อปลาสวยงาม (แทน Vamei) มาเก๊า(Vamei) (ฮัวเหม่ย) นกชนิดหนึ่งมีเสียงร้องไพเราะ Tapah ตาปาห์ ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซียMitag มิแทก ชื่อผู้หญิง {ภาษาพื้นเมืองของเกาะในประเทศไมโครนีเชีย} ไมโครนีเซียHagibis ฮากิบิส รวดเร็ว ว่องไว ฟิลิปปินส์Neoguri โนกูรี สนุขพันธุ์ราคูน สาธารณรัฐเกาหลีRammasun รามสูร ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทยChataan ชาทาอาน ฝน [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาHalong หะลอง ชื่ออ่าวสวยงามในเวียดนาม เวียดนามNakri นากรี ชื่อดอกไม้ กัมพูชาFengshen ฟงเฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งลม สาธารณรัฐประชาชนจีนKalmaegi คัลเมจิ นกนางนวล ( สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีFung-wong ฟองวอง ชื่อยอดเขา ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kammuri คัมมุริ มงกุฎ ญี่ปุ่นPhanfone พันฝน สัตว์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวVongfong หว่องฟง ชื่อแมลง มาเก๊าRusa รูซา กวาง มาเลเซียSinlaku ซินลากอ ชื่อเทพธิดาในนิยาย ไมโครนีเซียHagupit ฮากุปิต เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์Jangmi ชังมี กุหลาบ สาธารณรัฐเกาหลีMekkhala เมขลา ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทยHigos ฮีโกส ชื่อพืชชนิดหนึ่ง [ภาษาพื้นเมืองหมู่เกาะมารีน่า(Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐเมริกาBavi บาหวี่ ชื่อภูเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนามMaysak ไม้สัก ชื่อต้นไม้ [ ภาษาพื้นเมืองชองหมู่เกาะมารีนา (Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] กัมพูชาHaishen ไห่เฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีนPongsona พงโซนา ชื่อดอกไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีYanyan ยันยัน ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kujira คุจิระ ปลาวาฬ ญี่ปุ่นChan-hom จันหอม (จันทน์หอม) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวLinfa หลิ่นฟ้า ดอกบัว มาเก๊าNangka นังกา ชื่อผลไม้ มาเลเซียSoudelor เซาเดโลร์ ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป( Pohnpei) ไมโครนีเซียImbudo อิมบุโด พายุงวงช้าง ฟิลิปปินส์Goni โคนี หงส์ซึ่งส่งเสียงร้อง สาธารณรัฐเกาหลีMorakot มรกต มรกต ไทยEtau เอตาว เมฆพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาVamco หว่ามก๋อ ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนามKrovann กรอวาญ ชื่อต้นไม้ กัมพูชา(กระวาน) Dujuan ตู้เจี้ยน ชื่อไม้ดอก สาธารณรัฐประชาชนจีนMaemi เมมิ สัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมักส่งเสียงร้องในฤดูร้อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเมื่อเวลาเกิดพายุไต้ฝุ่นเข้าสู่ประเทศ เกาหลี Choi-wan ฉอยหวั่น เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Koppu คอบปุ ปล่องภูเขาไฟ, หลุม หรือแก้ว ญี่ปุ่นKitsana กิสนา (กฤษณา) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวParma ป้าหม่า อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยเนื้อสะโพก ตับ และเห็ด มาเก๊าMelor เมอโลร์ ดอกมะลิ มาเลเซียNepartak เนพาร์ตัก นักรบผู้มีชื่อเสียง ไมโครนีเซียLupit ลูปีต ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์Sudal ซูแดล นาก สาธารณรัฐเกาหลีNida นิดา ชื่อผู้หญิง ไทยOmais โอไมส์ การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกาConson โกนเซิน ชื่อโบราณสถาน เวียดนามChanthu จันทู ชื่อดอกไม้ กัมพูชาDianmu เตี้ยนหมู่ เจ้าแม่สายอสุนี สาธารณรัฐประชาชนจีนMindulle มินดอนเล ดอกไม้เล็ก ๆสีเหลืองบานในฤดูใบไม่ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีTingting เถ่งเถง ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Kompasu คอมปาซุ วงเวียน ญี่ปุ่นNamtheun น้ำเทิน ชื่อแม่น้ำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMalou หม่าโหล หินโมรา มาเก๊าMeranti เมอรันตี ชื่อต้นไม้ มาเลเซียRananim รานานิม คำสวัสดี [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซียMalakas มาลากัส แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์Megi เมกี ปลา สาธารณรัฐเกาหลีChaba ชบา ดอกชบา (ดอกไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง) ไทยAere แอรี สหรัฐอเมริกาSongda ซงด่า ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เวียดนามSarika สาลิกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชาHaima ไหหม่า ม้าน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีนMeari มิอะริ เสียงสะท้อน(หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก) Ma-on หมาง้อน อานม้า ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Tokage โทะคาเงะ สัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก ญี่ปุ่นNock-ten นกเตน (นกกระเต็น) ชื่อนก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวMuifa หมุ่ยฟ้า ดอกพลัมบาน มาเก๊าMerbok เมอร์บุก ชื่อนก มาเลเซียNamadol นันมาดอล โบราณสถานที่มีชื่อเสียงของโปนเป (Pohnpei) หรือ เวนิชแห่งแปซิฟิก ไมโครนีเซีย Talas ตาลัส แหลมคม ฟิลิปปินส์Noru โนรู กวาง สาธารณรัฐเกาหลีKulap กุหลาบ ชื่อดอกไม้ ไทยRoke โรคี ชื่อผู้ชาย [ในภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกาSonca เซินกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนามNesat เนสาด ชาวประมง กัมพูชาHaitang ไห่ถาง ชื่อผลไม้ของจีน สาธารณรัฐประชาชนจีนNalgae นาลแก ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีBanyan บันยัน ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)Washi วาชิ ชื่อหมู่ดาว นกอินทรีย์ ญี่ปุ่นMatsa มัดสา (มัศยา,มัตสยา,มัสยา) ปลาตัวเมีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวSanvu ซันหวู่ หินปะการัง มาเก๊าMawar มาวาร์ กุหลาบ มาเลเซียGuchol กูโชล เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ไมโครนีเซียTalim ตาลิม แหลมคม หรือ ด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์Nabi นาบี ผีเสื้อ สาธารณรัฐเกาหลีKhanun ขนุน ชื่อผลไม้ ไทยVicente วีเซนเต เมฆ [ภาษาชามาร์โร Chamarro)] สหรัฐอเมริกาSaola ซาวลา สัตว์ชนิดหนึ่ง ค้นพบในเวียดนาม เวียดนามมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (จากการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 40 ณ ประเทศมาเก๊า ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน 2550 )
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=28
ชื่อพายุ (I) ความหมาย ประเทศที่มา
Damrey ดอมเรย ช้าง กัมพูชา
Haikui ไห่คุ้ย - สาธารณรัฐประชาชนจีน
Kirogi ไคโรจิ ห่านป่า (ฝูงนกที่อพยพมาเกาหลีในฤดูใบไม้ร่วง และอพยพจากไปทางตอนเหนือในต้นฤดูใบไม้ผลิซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายกับพายุ ไต้ฝุ่น) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Kai-tak ไคตั๊ก ชื่อสนามบินเก่าของฮ่องกง ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Tembin เทมบิง ราศีตุล ตาชั่ง ญี่ปุ่น
Bolaven โบลาเวน ที่ราบสูง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Sanba SAN-BA ชื่อสถานที่ในมาเก๊า Place name in Macoa มาเก๊า
Jelawat เจอลาวัต ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
Ewiniar เอวิเนียร์ ชื่อเทพเจ้าแห่งพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซีย
Mariksi MA-LIK-SI คำคุณศัพท์ในภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์(?)มีความหมายว่า"รวดเร็ว" Filipino adjective which means fast ฟิลิปปินส์
Gaemi เกมี มด สาธารณรัฐเกาหลี
Prapiroon พระพิรุณ ฃื่อเทพเจ้าแห่งฝน ไทย
Maria มาเรีย ชื่อผู้หญิง [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทราแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Son Tinh SON-TING เทพเจ้าแห่งขุนเขาตามตำนานเทพของเวียดนาม (God of Mountain in Vietnamese myth) เวียดนาม
Bopha โบพา ชื่อดอกไม้ / ชื่อเด็กหญิง กัมพูชา
Wukong หวู่คง ชื่อวีรบุรุษในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Sonamu โซนามุ ต้นส้น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Shanshan ซานซาน ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Yagi ยางิ ราศีมังกร แพะ ญี่ปุ่น
Leepi LEE-PI น้ำตกที่สวยที่สุดทางตอนใต้สุดของประเทศลาว(The most beautiful waterfall in the end of Southern of Lao) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Bebinca เบบินคา ชื่อขนมพุดดิงของมาเก๊า มาเก๊า
Rumbia รุมเบีย ต้นปาล์ม มาเลเซีย
Soulik ซูลิก ตำแหน่งหัวหน้าเผ่าโบราณของเกาะโปนเป (Pohnpei) ไมโครนีเซีย
Cimaron ซิมารอน วัวป่าในฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
Jebi เชบี นกนางแอ่น สาธารณรัฐเกาหลี
Mangkhut มังคุด MUNG-KUUT ชื่อผลไม้ ไทย
Utor อูตอร์ แนวพายุฝนฟ้าคะนอง [ภาษาพื้นเมืองหมู่ชาวเกาะมาร์แชลล์ (Marshall)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Trami จ่ามี ชื่อดอกไม้ เวียดนาม
Kong-rey กองเรย ชื่อสาวงามในตำนานเขมร ชื่อภูเขา กัมพูชา
Yutu ยู่ทู่ กระต่ายในตำนานจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Toraji โทราจิ ชื่อต้นไม้ มีดอกสวยงาม พบในหุบเขาของเกาหลี รากใช้ทำอาหารและยา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Man-yi มานหยี่ ชื่อช่องแคบ ปัจจุบันเป็นอ่างเก็บน้ำ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Usagi อุซางิ กระต่าย ญี่ปุ่น
Pabuk ปาบึก (ปลาบึก) ชื่อปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Wutip หวู่ติ๊บ ผีเสื้อ มาเก๊า
Sepat เซอปัต ปลาน้ำจืดซึ่งมีครีบเล็ก ๆ สำหรับคลาน มาเลเซีย
Fitow ฟิโทว์ ชื่อดอกไม้สวย มีกลิ่นหอม [ภาษาพื้นเมืองของเกาะยาป ( Yap) ] ไมโครนีเซีย
Danas ดานัส ประสบการณ์และความรู้สึก ฟิลิปปินส์
Nari นารี ดอกไม้ สาธารณรัฐเกาหลี
Wipha วิภา ชื่อผู้หญิง ไทย
Francisco ฟรานซิสโก ชื่อผู้ชาย [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Lekima เลกีมา ชื่อผลไม้ เวียดนาม
Krosa กรอซา ปั้นจั่น กัมพูชา
Haiyan ไห่เยี่ยน ชื่อนกทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีน
Podul โพดอล ต้นหลิว ต้นไม้ที่มักพบในตัวเมืองและชนบทของเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Lingling เหล่งเหลง ชื่อหญิงสาว ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kajiki คะจิกิ ชื่อปลาทะเลที่เกล็ดจะเปลี่ยนสีเมื่อพ้นน้ำ ญี่ปุ่น
Faxai ฟ้าใส ชื่อผู้หญิง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
PEIPAH เพผ่า ชื่อปลาสวยงาม (แทน Vamei) มาเก๊า
(Vamei) (ฮัวเหม่ย) นกชนิดหนึ่งมีเสียงร้องไพเราะ
Tapah ตาปาห์ ชื่อปลาน้ำจืด มาเลเซีย
Mitag มิแทก ชื่อผู้หญิง {ภาษาพื้นเมืองของเกาะในประเทศไมโครนีเชีย} ไมโครนีเซีย
Hagibis ฮากิบิส รวดเร็ว ว่องไว ฟิลิปปินส์
Neoguri โนกูรี สนุขพันธุ์ราคูน สาธารณรัฐเกาหลี
Rammasun รามสูร ชื่อยักษ์ในเทพนิยายไทย ไทย
Chataan ชาทาอาน ฝน [ภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา(Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Halong หะลอง ชื่ออ่าวสวยงามในเวียดนาม เวียดนาม
Nakri นากรี ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
Fengshen ฟงเฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งลม สาธารณรัฐประชาชนจีน
Kalmaegi คัลเมจิ นกนางนวล ( สัญลักษณ์แห่งท้องทะเล ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Fung-wong ฟองวอง ชื่อยอดเขา ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kammuri คัมมุริ มงกุฎ ญี่ปุ่น
Phanfone พันฝน สัตว์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Vongfong หว่องฟง ชื่อแมลง มาเก๊า
Rusa รูซา กวาง มาเลเซีย
Sinlaku ซินลากอ ชื่อเทพธิดาในนิยาย ไมโครนีเซีย
Hagupit ฮากุปิต เฆี่ยนตี ฟิลิปปินส์
Jangmi ชังมี กุหลาบ สาธารณรัฐเกาหลี
Mekkhala เมขลา ชื่อเทพธิดาในเทพนิยายไทย ไทย
Higos ฮีโกส ชื่อพืชชนิดหนึ่ง [ภาษาพื้นเมืองหมู่เกาะมารีน่า(Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐเมริกา
Bavi บาหวี่ ชื่อภูเขาในภาคเหนือของเวียดนาม เวียดนาม
Maysak ไม้สัก ชื่อต้นไม้ [ ภาษาพื้นเมืองชองหมู่เกาะมารีนา (Mariana) ในมหาสมุทรแปซิฟิก] กัมพูชา
Haishen ไห่เฉิน ชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเล สาธารณรัฐประชาชนจีน
Pongsona พงโซนา ชื่อดอกไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Yanyan ยันยัน ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kujira คุจิระ ปลาวาฬ ญี่ปุ่น
Chan-hom จันหอม (จันทน์หอม) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Linfa หลิ่นฟ้า ดอกบัว มาเก๊า
Nangka นังกา ชื่อผลไม้ มาเลเซีย
Soudelor เซาเดโลร์ ชื่อหัวหน้าเผ่าในเทพนิยายของชาวเกาะโปนเป( Pohnpei) ไมโครนีเซีย
Imbudo อิมบุโด พายุงวงช้าง ฟิลิปปินส์
Goni โคนี หงส์ซึ่งส่งเสียงร้อง สาธารณรัฐเกาหลี
Morakot มรกต มรกต ไทย
Etau เอตาว เมฆพายุ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกา
Vamco หว่ามก๋อ ชื่อแม่น้ำในภาคใต้ของเวียดนาม เวียดนาม
Krovann กรอวาญ ชื่อต้นไม้ กัมพูชา
(กระวาน)
Dujuan ตู้เจี้ยน ชื่อไม้ดอก สาธารณรัฐประชาชนจีน
Maemi เมมิ สัตว์ชนิดหนึ่งซึ่งมักส่งเสียงร้องในฤดูร้อน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
เมื่อเวลาเกิดพายุไต้ฝุ่นเข้าสู่ประเทศเกาหลี
Choi-wan ฉอยหวั่น เมฆซึ่งมีสีสันสวยงาม ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Koppu คอบปุ ปล่องภูเขาไฟ, หลุม หรือแก้ว ญี่ปุ่น
Kitsana กิสนา (กฤษณา) ชื่อต้นไม้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Parma ป้าหม่า อาหารชนิดหนึ่งของมาเก๊า ประกอบด้วยเนื้อสะโพก ตับ และเห็ด มาเก๊า
Melor เมอโลร์ ดอกมะลิ มาเลเซีย
Nepartak เนพาร์ตัก นักรบผู้มีชื่อเสียง ไมโครนีเซีย
Lupit ลูปีต ความโหดร้ายทารุณ ฟิลิปปินส์
Sudal ซูแดล นาก สาธารณรัฐเกาหลี
Nida นิดา ชื่อผู้หญิง ไทย
Omais โอไมส์ การเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ [ภาษาพื้นเมืองของเกาะปาเลา (Palau)] สหรัฐอเมริกา
Conson โกนเซิน ชื่อโบราณสถาน เวียดนาม
Chanthu จันทู ชื่อดอกไม้ กัมพูชา
Dianmu เตี้ยนหมู่ เจ้าแม่สายอสุนี สาธารณรัฐประชาชนจีน
Mindulle มินดอนเล ดอกไม้เล็ก ๆสีเหลืองบานในฤดูใบไม่ผลิ สื่อถึงจิตใจที่อ่อนโยนและบริสุทธิ์ของสาวเกาหลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Tingting เถ่งเถง ชื่อสาวน้อย ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Kompasu คอมปาซุ วงเวียน ญี่ปุ่น
Namtheun น้ำเทิน ชื่อแม่น้ำ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Malou หม่าโหล หินโมรา มาเก๊า
Meranti เมอรันตี ชื่อต้นไม้ มาเลเซีย
Rananim รานานิม คำสวัสดี [ภาษาพื้นเมืองของเกาะชุก (Chuuk)] ไมโครนีเซีย
Malakas มาลากัส แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง ฟิลิปปินส์
Megi เมกี ปลา สาธารณรัฐเกาหลี
Chaba ชบา ดอกชบา (ดอกไม้เขตร้อนชนิดหนึ่ง) ไทย
Aere แอรี สหรัฐอเมริกา
Songda ซงด่า ชื่อแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม เวียดนาม

Sarika สาลิกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง กัมพูชา
Haima ไหหม่า ม้าน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีน
Meari มิอะริ เสียงสะท้อน(หมายถึง ทันทีที่เกิดพายุไต้ฝุ่น คำประกาศแจ้งของคณะกรรมการไต้ฝุ่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
ก็จะสะท้อนก้องไปสู่ประเทศสมาชิก)
Ma-on หมาง้อน อานม้า ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Tokage โทะคาเงะ สัตว์เลื้อยคลาน พวกจิ้งจก ตุ๊กแก ญี่ปุ่น
Nock-ten นกเตน (นกกระเต็น) ชื่อนก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Muifa หมุ่ยฟ้า ดอกพลัมบาน มาเก๊า
Merbok เมอร์บุก ชื่อนก มาเลเซีย
Namadol นันมาดอล โบราณสถานที่มีชื่อเสียงของโปนเป (Pohnpei) หรือ เวนิชแห่งแปซิฟิก ไมโครนีเซีย
Talas ตาลัส แหลมคม ฟิลิปปินส์
Noru โนรู กวาง สาธารณรัฐเกาหลี
Kulap กุหลาบ ชื่อดอกไม้ ไทย
Roke โรคี ชื่อผู้ชาย [ในภาษาพื้นเมืองของหมู่เกาะมาเรียนา (Mariana)ในมหาสมุทรแปซิฟิก] สหรัฐอเมริกา
Sonca เซินกา ชื่อนกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เวียดนาม
Nesat เนสาด ชาวประมง กัมพูชา
Haitang ไห่ถาง ชื่อผลไม้ของจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน
Nalgae นาลแก ปีก (หมายถึงการโบยบิน เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวอย่างมีอิสระ) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี
Banyan บันยัน ชื่อต้นไม้ ฮ่องกง (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
Washi วาชิ ชื่อหมู่ดาว นกอินทรีย์ ญี่ปุ่น
Matsa มัดสา (มัศยา,มัตสยา,มัสยา) ปลาตัวเมีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Sanvu ซันหวู่ หินปะการัง มาเก๊า
Mawar มาวาร์ กุหลาบ มาเลเซีย
Guchol กูโชล เครื่องเทศชนิดหนึ่ง ไมโครนีเซีย
Talim ตาลิม แหลมคม หรือ ด้านคมของใบมีด ฟิลิปปินส์
Nabi นาบี ผีเสื้อ สาธารณรัฐเกาหลี
Khanun ขนุน ชื่อผลไม้ ไทย
Vicente วีเซนเต เมฆ [ภาษาชามาร์โร Chamarro)] สหรัฐอเมริกา
Saola ซาวลา สัตว์ชนิดหนึ่ง ค้นพบในเวียดนาม เวียดนาม
มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 (จากการประชุมคณะกรรมการไต้ฝุ่นครั้งที่ 40 ณ ประเทศมาเก๊า ระหว่างวันที่ 21-26 พฤศจิกายน 2550 )
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=28
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คืออะไร ?
การเปลี่ยน แปลงภูมิอากาศ (climate change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉลี่ย (average weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น (ดูความหมายของ climate และ weather คลิ๊กที่นี่)
ใน ความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ ที่ทำให้องค์ประกอบของบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ
แต่ความหมายที่ใช้ในคณะกรรมการระหว่าง รัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก ความผันแปรตามธรรมชาติ หรือกิจกรรมของมนุษย์
มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้อย่างไร ?
กิจกรรม ของมนุษย์ที่มีผลทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง คือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) รุนแรงกว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติ และส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น ที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming)
ก๊าซเรือนกระจก คืออะไร ?
ก๊าซ เรือนกระจก คือ ก๊าซที่เป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลก ได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ และเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเธน ไนตรัสออกไซด์ ฯลฯ
ภาวะเรือนกระจก คืออะไร ?
ภาวะ เรือนกระจก คือ ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อนให้กระจายอยู่ภายใน บรรยากาศจึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.tmd.go.th/knowledge/know_greenhouse01.html)

ภาวะโลกร้อน คืออะไร ?
ภาวะ โลกร้อน หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ ?
ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404) อุณหภูมิผิวพื้นเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และสูงขึ้นประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส ในศตวรรษที่ 20 (จากรายงานการประเมินครั้งที่ 3 หรือ Third Assessment Report - TAR ของคณะทำงานกลุ่ม 1 IPCC) จากการวิเคราะห์ข้อมูลในซีกโลกเหนือ ย้อนหลังไป 1,000 ปี พบว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากในศตวรรษที่ 20 โดยสูงขึ้นมากที่สุดในทศวรรษที่ 1990 และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนมากที่สุดในรอบ 1,000 ปี

ปริมาณฝนและระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?
ใน ศตวรรษที่ 20 ปริมาณน้ำฟ้า (น้ำฟ้า หมายถึง น้ำที่ตกลงมาจากฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะของเหลวหรือของแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ) บริเวณพื้นแผ่นดินส่วนใหญ่ของซีกโลกเหนือในเขตละติจูดกลางและละติจูดสูง สูงขึ้นโดยเฉลี่ย 5 - 10 % แต่ลดลงประมาณ 3 % ในบริเวณกึ่งเขตร้อน

ส่วน ระดับน้ำทะเล จากข้อมูลทางธรณีวิทยา ปรากฏว่าเมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมาระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.5 มม./ปี และในระยะ 3,000 ปีที่ผ่านมา สูงขึ้นเฉลี่ย 0.1 - 0.2 มม./ปี (IPCC, 2001) แต่จากข้อมูลตรวจวัดในศตวรรษที่ 20 ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นในอัตราเฉลี่ย 1 - 2 มม./ปี

ประชาคมโลกตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างไร ?
ใน การประชุมภูมิอากาศโลกครั้งแรก (The First World Climate Conference) ซึ่งจัดขึ้นที่เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 12 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 นักวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก การประชุมครั้งนี้เน้นถึงเรื่องผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อ มนุษย์เป็นส่วนใหญ่ และเรียกร้องให้รัฐบาลของแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับภูมิอากาศที่กำลัง เปลี่ยนแปลงและป้องกันการกระทำของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิ อากาศ ซึ่งจะกลับมามีผลกระทบต่อมนุษย์เอง นอกจากนี้ยังได้วางแผนจัดตั้ง "แผนงานภูมิอากาศโลก" (World Climate Programme หรือ WCP) ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization หรือ WMO), โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme หรือ UNEP) และ International Council of Science Unions หรือ ICSU
หลังจาก พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาได้มีการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีก หลายครั้ง ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ The Villach Conference ประเทศออสเตรีย (9 - 15 ตุลาคม 2528), The Toronto Conference ประเทศแคนาดา (27 - 30 มิถุนายน พ.ศ.), The Ottawa Conference ประเทศแคนาดา (20 - 22 กุมภาพันธ์ 2532), The Tata Conference นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย (21 - 23 กุมภาพันธ์ 2532), The Hague Conference and Declaration ประเทศเนเธอร์แลนด์ (11 มีนาคม 2532), The Noordwijk Ministerial Conference ประเทศเนเธอร์แลนด์ (6 - 7 พฤศจิกายน 2532), The Cairo Compact ประเทศอียิปต์ (ธันวาคม 2532) และ The Bergen Conference ประเทศนอรเวย์ (พฤษภาคม 2533) การประชุมเหล่านี้ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมากขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในหน่วยงานรัฐบาล นักวิทยาศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ได้พิจารณาประเด็นทั้งด้านวิทยาศาสตร์และนโยบาย และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกร่วมมือดำเนินการเกี่ยวกับปัญหานี้
ปี พ.ศ. 2531 องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้จัดตั้ง คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจ-สังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตลอดจนผลกระทบ การปรับตัว และการบรรเทาปัญหาอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
พ.ศ. 2533 IPCC ได้เสนอรายงานการประเมินครั้งที่ 1 (The First Assessment Report) ซึ่งเน้นย้ำปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รายงานนี้มีผลอย่างมากต่อสาธารณชนและผู้กำหนดนโยบาย และเป็นพื้นฐานในการเจรจาอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ใน เดือนธันวาคม 2533 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติมีมติให้เริ่มดำเนินการเจรจาข้อตกลง โดยตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำร่างอนุสัญญาว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Intergovernmatal Nogotiating Committee for a Framework Convention on Climate Change หรือ INC/FCCC) ซึ่งได้มีการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2534 - พฤษภาคม 2535 และเนื่องจากเส้นตายที่จะมีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit) หรือการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development หรือ UNCED) ในเดือนมิถุนายน 2535 ผู้เจรจาจาก 150 ประเทศจึงจัดทำร่างอนุสัญญาฯ เสร็จสิ้น และยอมรับที่นิวยอร์ค เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535
ในการประชุม สุดยอดของโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2535 ที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ตัวแทนรัฐบาล 154 รัฐบาล (รวมสหภาพยุโรป) ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) โดยเป้าหมายสูงสุดของ UNFCCC คือ การรักษาระดับปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่อยู่ในระดับที่ไม่มีผล กระทบต่อระบบภูมิอากาศ
วันที่ 21 มีนาคม 2537 เป็นวันที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าให้มีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน หลังจากประเทศที่ 50 ให้สัตยาบัน
ต่อจากนั้นอีก 6 เดือน คือ วันที่ 21 กันยายน 2537 ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มเสนอรายงานแห่งชาติ (National Communications) เกี่ยวกับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ (INC) ได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อพิจารณาเรื่องการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ การจัดการเกี่ยวกับการเงิน การสนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยีแก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานและสถาบันที่เกี่ยวข้อง ต่อมาคณะกรรมการชุดนี้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง และยุบไป (การประชุมครั้งสุดท้าย เดือนกุมภาพันธ์ 2538) และได้ให้ที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ( The Conference of the Parties หรือ COP) เป็นองค์กรสูงสุดของอนุสัญญาฯ โดย COP มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ และประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งการตัดสินใจสนับสนุนและส่งเสริมการอนุวัติตามอนุสัญญาฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง COP มีการประชุมทุกปี จำนวน 9 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2546 ดังนี้
COP-1
เป็นการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งแรก จัดขึ้นที่ เบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน พ.ศ. 2538
COP-2
จัดขึ้นที่ เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 8 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
COP-3
จัดขึ้นที่ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 1 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2540
COP-4
จัดขึ้นที่ บัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ระหว่างวันที่ 2 - 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541
COP-5
จัดขึ้นที่ กรุงบอนน์ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
COP-6
จัดขึ้น กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 13 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
COP-7
จัดขึ้นที่ มาราเก็ช ประเทศโมรอคโค ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544
COP-8
จัดขึ้นที่ นิวเดลฮี ประเทศอินเดีย ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
COP-9
จัดขึ้นที่ มิลาน ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 1 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ที่มา http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=86
1 เมื่อมีลมพัดมาประทะกับแผ่นโลหะ ปลายข้างหนึ่งของแผ่นโลหะจะกระดกขึ้นมุมที่แผ่นโลหะทำแนวตั้งนี้จะขึ้นอยู่ กับความแรงของลม เครื่องมือนี้คือข้อใด



ก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. บารอมิเตอร์
ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์
2. ข้อใด ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นลูกศรยาว มีแพนหางตั้งตรง เป็นตัวบังคับให้ปลายศรลมชี้ไปในทิศทางที่ลมพัดเข้ามา โดยที่แกนของศรลมหมุนไปโดยรอบ


ก. อะมิโนมิเตอร์ ( Anemometer ) ข. ศรลม ( Wind vane )
ค. เทอร์มอมิเตอร์ ง. ไฮโกรมิเตอร์

3.ข้อใด เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ โดยจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ภาพนี้คือ
ก. ภาพแสดงการเกิดลม ข. ภาพแสดงการลมบกลมทะเล
ค. ภาพแสดงการวัดความชื้น ง.ภาพแสดงการวัดความกดดัน
4. ลมข้อใด เกิดขึ้นในตอนกลางวัน เนื่องจากอุณหภูมิของพื้นน้ำที่ได้รับจากดวงอาทิตย์สูงขึ้นช้ากว่าพื้นดิน ทำให้อากาศที่อยู่ใกล้พื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศที่อยู่ใกล้พื้นน้ำ
ก. ลมทะเล ( Sea breeze ) ข.ลมบก ( Land breeze )
ค. ลมหุบเขา ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
5.จาก รูปนี้หมายถึงนักอุตุนิยมวิทยา นิยมใช้ข้อมูลเกี่ยวกับความกดอากาศ ณ ตำแหน่งต่างๆ ที่ระดับน้ำทะเลซึ่งตรวจวัดได้จากสถานีตรวจอากาศต่างๆ บันทึกลงในข้อใดที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของลมที่พัดผ่านส่วนต่างๆ ของโลก

ก.เส้นไอโซบาร์ ( Isobar ) ข.ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ค. แผนที่อากาศ (Weather map) ง.ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิทยาศาตร์ออนไลน์

โดย อ.ยุภาภรณ์ เสาโกมุท (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการผสมเทียม (Artificial Insemination)
- ความรู้ เรื่องการกำเนิดดิน
- ความรู้ เรื่องพฤติกรรม (Behavior)
- ความรู้ เรื่องระบบการย่อยอาหาร (Digestive System)
- ความรู้ เรื่องอาหาร (Food)
- ความรู้ เรื่อง ความเป็นกรด-เบสของดิน
- ความรู้ เรื่อง ดาว
- ความรู้ เรื่อง การเกิดแผ่นดินไหว
- ความรู้ เรื่อง ระบบขับถ่าย
- ความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของเลือด
- ความรู้ เรื่อง แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
โดย อ.นฤมล สินธุรัตน์ (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องสารและสมบัติของสาร
- ความรู้ เรื่องสถานะของสาร
- ความรู้ เรื่องมวลอะตอมและมวลโมเลกุล
- ความรู้ เรื่องทฤษฎีจลน์ของก๊าซ
- ความรู้ เรื่องการแยกสาร
- ความรู้ เรื่อง พันธะเคมี
- ความรู้ เรื่อง การกลั่น
- ความรู้ เรื่อง ธาตุและสารประกอบ
- ความรู้ เรื่อง สมบัติบางประการของคอลลอยด์
- ความรู้ เรื่อง สัญลักษณ์และการเรียกชื่อธาตุ
โดย อ.ทรงเดช ทองคำ (26/01/47)
แบบเรียนด้วยตนเอง (ความรู้และแบบทดสอบ)
อาหาร
โลกและการเปลี่ยนแปลง
ดิน หิน แร่
แบบเรียนด้วยตนเอง (ความรู้และแบบทดสอบ)
พันธะเคมี ( เวปอื่น )
โครงสร้างอะตอม
ตารางธาตุ
โดย อ.รัตนา ชุปวา (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียว
- ความรู้ เรื่องความกดอากาศ
- ความรู้ เรื่องชั้นบรรยากาศแบ่งตามสมบัติอุตุนิยมวิทยา
- ความรู้ เรื่องเมฆ
- ความรู้ เรื่องโอโซนและสาร ซี เอฟ ซี
- ความรู้ เรื่องสารเนื้อเดียว
- ความรู้ เรื่อง กรด - เบสในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
- ความรู้ เรื่อง สมบัติบางประการของสารละลายกรด
- ความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของเซลล์
โดย อ.รจนา ใจห้าว (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องระบบโครงกระดูก
- ความรู้ เรื่องการหมุนเวียนของเลือดและก๊าซ
- ความรู้ เรื่องระบบหายใจ
- ความรู้ เรื่องระบบสืบพันธ์
- ความรู้ เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1
- ความรู้ เรื่อง กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 2
โดย อ.สุพัฒรา ดาวหน (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการเลี้ยวเบนของคลื่น
- ความรู้ เรื่องการเลี้ยวเบนของคลื่นผิวน้ำผ่านช่องเปิดคู่
- ความรู้ เรื่องการหักเหของคลื่น
- ความรู้ เรื่องคลื่นคืออะไร
- ความรู้ เรื่องส่วนประกอบของคลื่น
- ความรู้ เรื่อง สมดุลกล
- ความรู้ เรื่อง งาน
- ความรู้ เรื่อง พลังงาน
- ความรู้ เรื่อง อุปกรณ์ในวงไฟฟ้า
โดย อ.จงกล บัวสิงห์ (19/01/47)
- ความรู้เรื่อง แรง
- ความรู้ เรื่องกฎการเคลื่อนที่ข้อหนึ่งของนิวตันหรือกฎความเฉื่อย
- ความรู้ เรื่องมวล
- ความรู้ เรื่องกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน
- ความรู้ เรื่องสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ
- ความรู้ เรื่องกระแสไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่องคุณสมบัติของแท่งแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องสนามแม่เหล็กโลก
- ความรู้ เรื่องเส้นแรงแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
- ความรู้ เรื่อง การเลี้ยวเบน
- ความรู้ เรื่อง การสะท้อน
- ความรู้ เรื่อง การหักเห
- ความรู้ เรื่อง บีตส์
- ความรู้ เรื่อง คลื่นนิ่ง
- ความรู้ เรื่อง ความถี่ธรรมชาติ
- ความรู้ เรื่อง การสั่นพ้อ
โดย อ.กัญญารัตน์ พรหมคุณ (26/01/47)
- ความรู้ เรื่องปฏิกิริยาเคมีในเซลล์
- ความรู้ เรื่องเมแทบอลิซึม
- ความรู้ เรื่องการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
- ความรู้ เรื่องการสลายอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
- ความรู้ เรื่อง ชนิดของเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง การทำงานของเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
- ความรู้ เรื่อง ตัวยับยั้งเอนไซม์( Inhibitor )
- ความรู้ เรื่อง ประโยชน์ของตัวยับยั้งเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง โครงสร้างและวิธีการแลกเปลี่ยนก๊าซของสิ่งมีชีวิต
- ความรู้ เรื่อง การหายใจของพืชหลังการเก็บเกี่ยว
- ความรู้ เรื่อง การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C3 และพืช C4
- ความรู้ เรื่อง แหล่งที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง
- ความรู้ เรื่อง การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช
- ความรู้ เรื่อง ข้อสรุปแตกต่างระหว่างลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
โดย อ.เพชรรัตน์ วงศ์ชา (20/01/47)
- ความรู้ เรื่องการผลิตเกลือจากน้ำทะเล
- ความรู้ เรื่องเครื่องปั้นดินเผา
- ความรู้ เรื่องแร่รัตนชาติ
- ความรู้ เรื่องแร่เชื้อเพลิง
- ความรู้ เรื่องประเภทของอุตสาหกรรม
- ความรู้ เรื่อง สารละลายกรด
- ความรู้ เรื่อง การแยกสาร
- ความรู้ เรื่อง โครมาโทกราฟฟี
- ความรู้ เรื่อง ธาตุกัมมันตรังสี
โดย อ.ปาริชาด บัวแย้ม (25/01/47)
- ความรู้ เรื่องความหมายฟิสิกส์อะตอม
- ความรู้ เรื่องโครงสร้างสาร
- ความรู้ เรื่องทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
- ความรู้ เรื่องการค้นพบรังสีคาโธด
- ความรู้ เรื่องการทดลองหาค่าประจุต่อมวลของทอมสัน
- ความรู้ เรื่องการทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของบอร์
- ความรู้ เรื่องสเปกตรัมของอะตอม
- ความรู้ เรื่องอนุกรมเส้นสเปกตรัม
- ความรู้ เรื่องรัศมีวงโคจร ความเร็วและพลังงานของอิเล็กตรอนตามแบบของบอร์
- ความรู้ เรื่องการทดลองของแฟรงค์และเฮริต์
- ความรู้ เรื่องรังสีเอกซ์
- ความรู้ เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก 1
- ความรู้ เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก 2
- ความรู้ เรื่องทวิภาคของคลื่นและอนุภาคของเดอ บรอยล์
- ความรู้ เรื่องหลักความไม่แน่นอนและโอกาสเป็นไปได้ของไฮเซนเบริก
- ความรู้ เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม
- ความรู้ เรื่องการเขียนปฏิกิริยานิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องการค้นพบนิวตรอน
- ความรู้ เรื่องการค้นพบโปรตอน
- ความรู้ เรื่องการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
- ความรู้ เรื่องความหมาย ฟิสิกส์นิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องชนิดของกัมมันตภาพรังสี
- ความรู้ เรื่องปฏิกิริยานิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องประวัติการค้นพบกัมมันตภาพรังสี
- ความรู้ เรื่องรัศมีนิวเคลียส
- ความรู้ เรื่องลูกระเบิดปรมาณูลูกที่สอง
- ความรู้ เรื่องเวลาครึ่งชีวิต
โดย อ.สมรักษ์ สีหาภาค
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของเหล็ก
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของทองแดง
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของสังกะสี
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของแคลเซียม
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของโครเมียม
- ความรู้ เรื่อง วิตามิน
- ความรู้ เรื่อง โปรตีน
- ความรู้ เรื่อง น้ำ
- ความรู้ เรื่อง คาร์โบไฮเดรด
- ความรู้ เรื่อง ไขมัน
โดย อ.ศักดดนัย สืบเสน
- ความรู้ เรื่อง การถ่ายทอดพันธุกรรม
- ความรู้ เรื่อง สิ่งกำหนดเพศในมนุษย์
- ความรู้ เรื่อง พันธุศาสตร์
- ความรู้ เรื่อง การโคลนยีน (GENE CLONING)
- ความรู้ เรื่อง ประวัติของเมนเดล
โดย อ.เดช ผิวอ่อน
- ความรู้ เรื่อง กำลังไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
- ความรู้ เรื่อง เต้ารับและเต้าเสียบ
- ความรู้ เรื่อง พลังงานไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง สะพานไฟ
ที่มา http://patchara1.igetweb.com/index.php?mo=3&art=43827

เมืองเชลียงปริทรรศน์52




























สวัสดิศกสิ่งศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิผล บันดาลดลสมประสงค์จงพรรษา
ให้ปราศทุกข์ปลอดโรคภัยไร้โรคา บุญนำพาร่ำรวยทรัพย์นับอนันต์
ให้สูงศักดิ์สูงยศปรากฏชื่อ เกียรติก้องลือชาเดชทั่วเขตขัณฑ์
ชาญวิชาเชาว์ปัญญาเลิศพลานันท์ เกษมสันต์ตลอดปีมีสุขเทอญ




โมเมนต์ของแรง
โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตร

ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ
1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

รูปแสดงทิศทางของโมเมนต์

จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)
โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)
ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

คาน
หลัก การของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคานใช้หลักของโมเมนต์


รูปแสดงลักษณะของคาน
ส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน คือ
1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum) F
2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ
3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคาน
การจำแนกคาน คานจำแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้
1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้น
รูปแสดงคานอันดับ 1

2. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F) เช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้น
รูปแสดงคานอันดับ 2
3. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้น
รูปแสดงคานอันดับ 3

การ ผ่อนแรงของคาน จะมีค่ามากหรือน้อยโดยดูจากระยะ E ถึง F และ W ว่าถ้าระยะ EF ยาวหรือสั้นกว่าระยะ WF ถ้าในกรณีที่ยาวกว่าก็จะช่วยผ่อนแรง ถ้าสั้นกว่าก็จะไม่ผ่อนแรง

หลักการคำนวณเรื่องคาน มีดังนี้
1. ถ้าโจทย์ไม่บอกน้ำหนักของคานมาให้ เราไม่ต้องคิดน้ำหนักของคาน ถือว่าคานนั้นเบามาก
2. ในการคำนวณให้ถือว่า คานมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอด
3. ถ้าโจทย์บอกน้ำหนักคานมาให้ต้องคิดน้ำหนักคานด้วย โดยถือว่าน้ำหนักของคานจะอยู่จุดกึ่งกลางคานเสมอ
4. เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุล โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
5. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา หรือโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีค่าเท่ากับ ผลบวกของโมเมนต์ย่อยแต่ละชนิด
6. เมื่อมีแรงมากระทำที่จุดหมุน ค่าของโมเมนต์มีค่าเท่ากับศูนย์เพราะระยะทางเป็นศูนย์ ดังนี้
โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง
= แรง x 0
โมเมนต์ = 0

หลักการคำนวณเรื่องโมเมนต์ เช่น
ตัวอย่าง ที่ 1 คานอันหนึ่งเบามากมีน้ำหนัก 30 นิวตันแขวนที่ปลายคานข้างหนึ่ง และอยู่ห่างจุดหมุน 2 เมตร จงหาว่าจะต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ทางด้านตรงกันข้ามที่ใดคานจึงจะสมดุล

วิธีทำ สมมุติให้แขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน x เมตร คิดโมเมนต์ที่จุด F

ต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน 4 เมตร ตอบ

ตัวอย่าง ที่ 2 คานยาว 10 เมตรงัดวัตถุหนัก 100 นิวตัน โดยวางให้จุดหมุนอยู่ห่างจากวัตถุ 1 เมตร จงหาว่า จะต้องออกแรงที่ปลายคานอีกข้างหนึ่งเท่าไร

วิธีทำ คิดโมเมนต์ที่จุด F

ต้องออกแรงพยายาม = 11.11 นิวตัน ตอบ
เรื่อง โมเมนต์ของแรง
แรง (force) คือ อำนาจอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้หรือพยายามทำให้วัตถุเปลี่ยนภาวะจากการหยุด นิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ หรือภาวะจากการเคลื่อนที่เป็นการหยุดนิ่ง
หน่วยของแรง แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N)
ผลของแรง
1. แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง เกิดเป็นงาน
2. แรงทำให้วัตถุหมุนรอบจุดๆ หนึ่ง เกิดเป็นโมเมนต์
โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง หรือ
โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง
หน่วยของโมเมนต์ โมเมนต์มีหน่วยเป็น นิวตันเมตร
โมเมนต์มี 2 ชนิด คือ

1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
กฏของโมเมนต์
เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งถูกกระทำด้วยแรงหลายแรง แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552


ประกาศเตือนภัย

"ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง "
ฉบับที่ 2 (178/2552) ลงวันที่ 04 พฤศจิกายน 2552
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามันมีกำลังแรง ทำให้ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มของจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา กระบี่ ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้นในระยะ 1-2 วันนี้ (4-5 พ.ย. 52) ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาชายฝั่ง และชาวเรือควรระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 4-7 พฤศจิกายน 2552
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น และมีลมแรง
ที่มา http://www.tmd.go.th/warningwindow.php?wID=1997

ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2552




กำหนดการประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2552

วันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2552 ณ อุทยานประวัติศาสดร์สุโขทัย
วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2552 (วันขึ้น 13 ค่ำเดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ เจริญพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 07.45 น. หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการทุกฝ่าย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด สมาชิกองค์กร ภาคเอกชน นักเรียนนักศึกษา พ่อค้าและประชาชน ทุกเหล่าพร้อมกัน ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงบุรพกษัตริย์สุโขทัย ทุกพระองค์ ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีจุดเทียนสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีถวายพวงมาลัยคล้องพระแสง
-ประธานในพิธีจุดเทียนชัยที่โต๊ะเครื่องบวงสรวง
-เสร็จพิธีพราหมณ์
-รำบวงสรวง
-สวดสรภัญญะ
-เสร็จพิธีบวงสรวง

เวลา 09.45 น. พิธีสงฆ์ (ดำเนินการต่อเนื่องจากพิธีบวงสรวง)
-พระสงฆ์ 10 รูป พร้อม ณ บริเวณ พิธีข้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีจุเทียนบูชาพระรัตนตรัย
-พิธีกรอาราธนาศีล
-ประธานสงฆ์ให้ศีล
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
-ประธานในพิธีประจำ ณ แท่นพิธี
-ประธานจัดกล่าวรายงาน
-ประธานในพิธีกล่าวเปิดงานประเพณีลอยกระทงฯ ประจำปี 2552
-ประธานในพิธีลั่นฆ้อง 3 ครั้ง พนักงานจุพลุ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
-พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
-ประธานในพิธีและคณะถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ -พระสงฆ์อนุโมทนา (เสร็จพิธีสงฆ์)

เวลา 10.00 น. ตั้งองค์กฐิน ณ บริเวณลานโพธิ์
เวลา 11.00 น. การประกวดโคมชักโคมแขวน ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-กิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณลานวัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม
-การแข่งขันและการแสดงกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
-การแข่งขันหมากรุกไทย
-การแสดงกระบี่กระบอง
-การสาธิตมวยคาดเชือก
-การสาธิตว่าวไทย
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 16.00 น. การแสดงหมากรุกไทย (คน) โดยใช้นักแสดงจากนาฏศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช -การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณวัดตระพังเงิน

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.00 น. การแสดงประกอบ แสง สี เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ

เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง

เวลา 21.00 น. การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2552 (วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 09.00 น. ขบวนแห่ผ้ากฐินทาน ไปทอดถวาย ณ วัดตระพังทอง

เวลา 09.30 น. ขบวนแห่พระเวสสันดร และตัวละครเทศน์มหาชาติ เริ่มขบวนที่หน้าศาลเจ้าผาดำ ไปสิ้นสุด ณ ลานวัฒนธรรม

เวลา 10.00 น. การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านหมากรุกไทย (รอบชิงชนะเลิศ) ณ บริเวณลานกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
-การแสดงกรี่กระบอง
-การสาธิตมวยคาดเชือก
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 11.00 น. จัดแสดงกระทงเล็ก พนมหมาก พนมดอกไม้ ณ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 16.00 น. การแสดงหมากรุกไทย (คน) โดยใช้นักแสดงจากนาฏศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช -การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณวัดตระพังเงิน

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.00 น. ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ณ บริเวณหน้าเทศบาลสุโขทัยธานี

เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง

เวลา 21.00 น. การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม
เวลา 22.30 น. การแสดงตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ณ บริเวณสระน้ำตระพังตระกวน

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2552 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 08.00 น. ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทานแห่รอบเมืองสุโขทัยธานี
เวลา 10.00 น. ประกวดการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ ด้านหลังวัดชนะสงคราม (รอบชิงชนะเลิศ)
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 13.45 น. ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ขบวนแห่ประเพณีวัฒนธรรม 9 อำเภอ กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โคมชักโคมแขวน พนมหมากพนมดอกไม้ หมากรุกไทยนางนพมาศ และหนูน้อยนพมาศ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประธานต้อนรับขบวนแห่พระพระทีปฯ ณ บริเวณตระพังตาล

เวลา 16.00 น. การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณข้างสระน้ำตระพังตาล

เวลา 17.30 น. ประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โคมชักโคมแขวน พนมหมากพนมดอกไม้ หมากรุกไทยนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ และผู้ชนะการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณเวทีกลางหมู่บ้านวัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.30 น การแสดงประกอบ แสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ (รอบแรก)
เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง
เวลา 20.30 น. การแสดงประกอบ แสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ (รอบที่ 2)
-การเล่นสักวา ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน)
เวลา 21.30 น. พิธีเผาเทียนเล่นไฟ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยฌชิญประธานจุดตะคันใหญ่
เวลา 22.00 น. กิจกรรมตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เวลา 23.00 น. พิธีอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ลงลอยเป็นปฐมฤกษ์ ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน) -การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน)
ที่มา http://thaismarttour.igetweb.com/index.php?mo=3&art=328038

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552


การจำแนกสารรอบตัว

การจำแนกสารรอบตัว
1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว
1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม
2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกันสารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี
ที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น
ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=imageจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมีตรี
เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น