วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2552




กำหนดการประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย ประจำปี 2552

วันที่ 31 ตุลาคม – 2 พฤศจิกายน 2552 ณ อุทยานประวัติศาสดร์สุโขทัย
วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2552 (วันขึ้น 13 ค่ำเดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับรุ่งอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ เจริญพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 07.45 น. หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด นายอำเภอทุกอำเภอ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการทุกฝ่าย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัด สมาชิกองค์กร ภาคเอกชน นักเรียนนักศึกษา พ่อค้าและประชาชน ทุกเหล่าพร้อมกัน ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 08.00 น. พิธีบวงสรวงบุรพกษัตริย์สุโขทัย ทุกพระองค์ ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีจุดเทียนสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีถวายพวงมาลัยคล้องพระแสง
-ประธานในพิธีจุดเทียนชัยที่โต๊ะเครื่องบวงสรวง
-เสร็จพิธีพราหมณ์
-รำบวงสรวง
-สวดสรภัญญะ
-เสร็จพิธีบวงสรวง

เวลา 09.45 น. พิธีสงฆ์ (ดำเนินการต่อเนื่องจากพิธีบวงสรวง)
-พระสงฆ์ 10 รูป พร้อม ณ บริเวณ พิธีข้างลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-ประธานในพิธีจุเทียนบูชาพระรัตนตรัย
-พิธีกรอาราธนาศีล
-ประธานสงฆ์ให้ศีล
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
-ประธานในพิธีประจำ ณ แท่นพิธี
-ประธานจัดกล่าวรายงาน
-ประธานในพิธีกล่าวเปิดงานประเพณีลอยกระทงฯ ประจำปี 2552
-ประธานในพิธีลั่นฆ้อง 3 ครั้ง พนักงานจุพลุ ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์
-พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
-ประธานในพิธีและคณะถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ -พระสงฆ์อนุโมทนา (เสร็จพิธีสงฆ์)

เวลา 10.00 น. ตั้งองค์กฐิน ณ บริเวณลานโพธิ์
เวลา 11.00 น. การประกวดโคมชักโคมแขวน ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
-กิจกรรมเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณลานวัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม
-การแข่งขันและการแสดงกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
-การแข่งขันหมากรุกไทย
-การแสดงกระบี่กระบอง
-การสาธิตมวยคาดเชือก
-การสาธิตว่าวไทย
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 16.00 น. การแสดงหมากรุกไทย (คน) โดยใช้นักแสดงจากนาฏศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช -การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณวัดตระพังเงิน

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.00 น. การแสดงประกอบ แสง สี เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ

เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง

เวลา 21.00 น. การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2552 (วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 09.00 น. ขบวนแห่ผ้ากฐินทาน ไปทอดถวาย ณ วัดตระพังทอง

เวลา 09.30 น. ขบวนแห่พระเวสสันดร และตัวละครเทศน์มหาชาติ เริ่มขบวนที่หน้าศาลเจ้าผาดำ ไปสิ้นสุด ณ ลานวัฒนธรรม

เวลา 10.00 น. การแข่งขันกีฬาพื้นบ้านหมากรุกไทย (รอบชิงชนะเลิศ) ณ บริเวณลานกีฬาพื้นบ้านหน้าวัดมหาธาตุ
-การแสดงกรี่กระบอง
-การสาธิตมวยคาดเชือก
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 11.00 น. จัดแสดงกระทงเล็ก พนมหมาก พนมดอกไม้ ณ บริเวณหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เวลา 16.00 น. การแสดงหมากรุกไทย (คน) โดยใช้นักแสดงจากนาฏศิลป์สุโขทัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช -การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณวัดตระพังเงิน

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.00 น. ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ณ บริเวณหน้าเทศบาลสุโขทัยธานี

เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง

เวลา 21.00 น. การแสดงโขน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม
เวลา 22.30 น. การแสดงตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ณ บริเวณสระน้ำตระพังตระกวน

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2552 (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)

กิจกรรม

เวลา 05.30 น. พิธีรับอรุณแห่งความสุข ณ อุโบสถวัดตระพังเงิน
-ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งถวายแด่พระสงฆ์ 9 รูป
-พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เจริญชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์

เวลา 08.00 น. ชมขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทานแห่รอบเมืองสุโขทัยธานี
เวลา 10.00 น. ประกวดการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ ด้านหลังวัดชนะสงคราม (รอบชิงชนะเลิศ)
-การสาธิตพุทธศิลป์สุโขทัย ณ บริเวณลานโพธิ์หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เวลา 13.45 น. ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ขบวนแห่ประเพณีวัฒนธรรม 9 อำเภอ กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โคมชักโคมแขวน พนมหมากพนมดอกไม้ หมากรุกไทยนางนพมาศ และหนูน้อยนพมาศ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประธานต้อนรับขบวนแห่พระพระทีปฯ ณ บริเวณตระพังตาล

เวลา 16.00 น. การแสดงหมู่บ้านวิถีไทยสมัยกรุงสุโขทัย ณ ศาลา 4 หลัง

เวลา 17.00 น. การแสดงดนตรีไทย ณ บริเวณวัดชนะสงคราม บริเวณวัดสระศรี บริเวณหน้าประตู ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ด้านประตูใหญ่ และบริเวณข้างสระน้ำตระพังตาล

เวลา 17.30 น. ประธานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด กระทงใหญ่ กระทงเล็ก โคมชักโคมแขวน พนมหมากพนมดอกไม้ หมากรุกไทยนางนพมาศ หนูน้อยนพมาศ และผู้ชนะการเล่านิทานพื้นบ้านด้วยภาษาท้องถิ่นสุโขทัย ณ บริเวณเวทีกลางหมู่บ้านวัฒนธรรมด้านหลังวัดชนะสงคราม

เวลา 18.00 น. กิจกรรมข้าวขวัญวันเล่นไฟ ณ หน้าวัดมหาธาตุ

เวลา 19.30 น การแสดงประกอบ แสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ (รอบแรก)
เวลา 20.00 น. การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ณ โรงละครกลางแจ้ง
เวลา 20.30 น. การแสดงประกอบ แสง เสียง ณ บริเวณวัดมหาธาตุ (รอบที่ 2)
-การเล่นสักวา ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน)
เวลา 21.30 น. พิธีเผาเทียนเล่นไฟ ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยฌชิญประธานจุดตะคันใหญ่
เวลา 22.00 น. กิจกรรมตำนานเรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เวลา 23.00 น. พิธีอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน ลงลอยเป็นปฐมฤกษ์ ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน) -การแสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง ณ บริเวณสระน้ำวัดสระศรี (ตระพังตระกวน)
ที่มา http://thaismarttour.igetweb.com/index.php?mo=3&art=328038

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


การจำแนกสารรอบตัว

การจำแนกสารรอบตัว
1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว
1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม
2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกันสารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี
ที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น
ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=imageจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมีตรี
เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น