วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 19 ตุลาคม 2552 - 25 ตุลาคม 2552
การคาดหมาย ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนกลางและมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองกระจายและมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะนี้ และในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่เข้ามาปกคลุมประเทศไทย ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นกับอุณหภูมิลดลง ส่วนภาคอื่นๆยังคงมีฝนกระจาย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 25 จะมีความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงแผ่เสริมเข้ามาอีกระลอกหนึ่ง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงได้อีก

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ลูปิด” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มทิศทางการเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงวันที่ 21-22 ต.ค. และลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในระยะต่อไป

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. ทางตอนบนของภาคมีอากาศเย็น และมีหมอกบางในตอนเช้า ส่วนทางตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 22-24 ต.ค. มีฝนกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ทางด้านตะวันตกของภาค และอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็น และมีหมอกบางในตอนเช้า ในช่วงวันที่ 19-20 ต.ค. โดยมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจายร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันออกของภาค หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 21-24 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย

ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และอุณหภูมิลดลง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค เกือบตลอดช่วง ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร

ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 19-22 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณทางตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ในช่วงวันที่ 19-21 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร

หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 21-25 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 19-23 ต.ค. มีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมแปรปรวน ความเร็ว 15-30 กม./ชม.


ที่มา http://www.tmd.go.th/7-day_forecast.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


การจำแนกสารรอบตัว

การจำแนกสารรอบตัว
1. ถ้าใช้สถานะของสารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
1.1 สารที่มีสถานะเป็นของแข็ง
1.2 สารที่มีสถานะเป็นของเหลว
1.3 สารที่มีสถานะเป็นก๊าซ
2. ถ้าใช้สารเป็นเกณฑ์ สามารถจัดได้ 2 กลุ่มคือ สารเนื้อเดียวสารเนื้อ และประสม
2.1 สารเนื้อเดียว หมายถึง สารชนิดเดียวหรือสาร 2 ชนิดผสมกันอยู่อย่างกลมกลืนกัน2.2 สารเนื้อผสม หมายถึง สารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกันแต่เนื้อสารไม่กลมกลืนกันสารละลายสารละลาย หมายถึง สารที่ไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ 2 ชนิดมารวมกัน แล้วเกิดละลายเป็นเนื้อเดียวกัน สารละลาย มี 3ชนิดคือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซสารละลายเข้มข้น หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายมากสารละลายเจือจาง หมายถึง สารละลายที่มีปริมาณตัวถูกทำลายน้อยสารละลายอิ่มตัว หมายถึง สารละลายที่ไม่สามารถละลายตัวถูกละลายได้อีกสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่ในปริมาณที่เกินกว่าอัตราที่ละลาย ได้ที่อุณหภูมิห้องสารบริสุทธิ์สารบริสุทธิ์ หมายถึง สารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงชนิดเดียว จึงมีสมบัติเหมือนกันตลอด สารที่ใช้ในบ้าน1.สารที่เป็นกรด หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีแดงแต่ไม่เปลี่ยน สีกระดาษลิตมัสสีแดง2.สารที่เป็นเบส หมายถึง สารที่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้ำเงินแต่ไม่เปลี่ยนสีกระดาษ ลิตมัสสีน้ำเงิน3.สารที่เป็นกลาง หมายถึง สารที่ไม่สามารถเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้ง 2 สี
ที่มาhttp://www.geocities.com/sci123th/m3.html
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น
ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.corrosionsource.com/handbook/periodic/periodic_table.gif&imgrefurl=http://blog.hunsa.com/piyanunthancha/cat/14801&h=480&w=580&sz=19&tbnid=G4wY8RtD2Q3AMM:&tbnh=111&tbnw=134&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2598%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B8&hl=th&usg=___JmxKLQmszAiPp10-mNzkXgAQxI=&ei=z0acSoiAEYuNkAWjzcG3Dw&sa=X&oi=image_result&resnum=6&ct=imageจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีดมีตรี
เมนเดเลเยฟ บิดาแห่งตารางธาตุตารางธาตุ คือ ตารางที่ใช้แสดงธาตุเคมี คิดค้นขึ้นโดยนักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ในปี พ.ศ. 2412[1] จากการสังเกตว่าเมื่อนำธาตุต่างๆมาเรียงตัวลำดับเลขอะตอม คุณสมบัติต่าง ๆ ของธาตุที่นำมาเรียงนั้นจะมีลักษณะคล้ายกันเป็นช่วง ๆ ซึ่งในปัจจุบันตารางธาตุได้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยเริ่มต้นจาก จอห์น นิวแลนด์ส ได้พยายามเรียงธาตุตามมวลอะตอม แต่เขากลับทำให้ธาตุที่มีสมบัติต่างกันมาอยู่ในหมู่เดียวกัน นักเคมีส่วนมากจึงไม่ยอมรับตารางธาตุของนิวแลนด์ส ต่อมา ดมีตรี เมนเดเลเยฟ จึงได้พัฒนาโดยพยายามเรียงให้ธาตุที่มีสมบัติเหมือนกันอยู่ในหมู่เดียวกัน และเว้นช่องว่างไว้สำหรับธาตุที่ยังไม่ค้นพบ พร้อมกันนั้นเขายังได้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ไว้ด้วย โดยใช้คำว่า เอคา (Eka) นำหน้าชื่อธาตุที่อยู่ด้านบนของธาตุที่ยังว่างอยู่นั้น เช่น เอคา-อะลูมิเนียม (ต่อมาคือธาตุแกลเลียม) เอคา-ซิลิคอน (ต่อมาคือธาตุเจอร์เมเนียม) แต่นักเคมีบางคนในยุคนั้นยังไม่แน่ใจ เนื่องจากว่าเขาได้สลับที่ธาตุบางธาตุโดยเอาธาตุที่มีมวลอะตอมมากกว่ามาไว้หน้าธาตุที่มีมวลอะตอมน้อยกว่า ดมีตรีได้อธิบายว่า เขาต้องการให้ธาตุที่มีสมบัติเดียวกันอยู่ในหมู่เดียวกัน เมื่อดมีตรีสามารถทำนายสมบัติของธาตุได้อย่างแม่นยำ และตารางธาตุของเขาไม่มีข้อน่าสงสัย ตารางธาตุของดมีตรีก็ได้รับความนิยมจากนักเคมีในสมัยนั้นเป็นต้นมาที่มาth.wikipedia.org/wiki/ตารางธาตุ
เขียนโดย เด็กหญิง ศิรินันท์ เรืองมั่น 0 ความคิดเห็น